วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประโยชน์ ของช็อกโกแลต


ประโยชน์ ของช็อกโกแลต

ประโยชน์ ของช็อกโกแลต

ใกล้จะวันวาเลนไทน์แล้ว หาช็อคโกแลตอร่อยๆให้หวานใจกันรึยังคะ วันนี้สะกิดมีประโยชน์ดีๆของช็อคโกแลตมาฝากกันค่ะ
  1. ช่วยปรับอารมณ์ และจิตใจ ให้เข้าสู่สภาวะปกติ
  2. ช่วยลดอาการปวดท้อง หงุดหงิด หน้าบวม ตัวบวม ก่อนมีประจำเดือน
  3. ช่วยแก้อาการเมาค้าง หรือ hangover ได้ด้วย จะได้เลิกเมาค้าง ข้ามวันข้ามคืน
  4. ป้องกันการเกิดมะเร็ง เพราะได้พิสูจน์พบแล้วว่า สารที่พบในช็อกโกแลต
  5. เป็นสารชนิดเดียวกันกับ สารที่พบใน ผัก ผลไม้ และไวน์แดง
  6. ช่วยลดอาการอักเสบ เวลาเจ็บป่วยต่างๆ
  7. มีผลต่อสมอง เพราะช่วยให้ตื่นตัว และยังช่วยให้ กระฉับกระเฉงอีกด้วย
  8. ในมิลค์ ช็อกโกแลต อัตราส่วน 1.4 ออนซ์ จะประกอบด้วย โปรตีน 3 กรัม แคลเซียม 5% และธาตุเหล็กถึง 15%
  9. โดยเฉพาะช็อกโกแลต ที่ใส่ถั่ว หรืออัลมอนด์ จะมีสารอาหารพวกนี้มากขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ยังมีการทดลองและวิจัยพบอีกว่า ผู้ที่ดื่มนมช็อคโกแลต เป็นประจำทุกวันนั้น ไม่มีปริมาณคอเลสเตอรอลที่เป็นอันตรายเพิ่มขึ้น
ทั้งที่บริโภคไขมัน (จากนม) เข้าไปเป็นจำนวนมาก เท่านั้นยังไม่พอ ช็อคโกแลตยังอุดมไปด้วยสารเคมีที่ทำให้ร่างกายรู้สึกสบายใจ สดชื่นและมีความสุข
วาเลนไทน์นี้อย่าลืมหาช็อคโกแลตอร่อยๆ  ฝากคนสำคัญกันนะคะ

เรื่องน่ารู้ ของมนุษย์เงินเดือน


เรื่องน่ารู้ ของมนุษย์เงินเดือน

เรื่องน่ารู้ ของมนุษย์เงินเดือน

  • ทำไมถึงเปิดเผยตัวเลขเงินเดือนไม่ได้ ทั้งๆ ที่เป็นเพื่อนสนิทกันมาก เพราะเรื่องเงินเดือนเป็นข้อมูลเฉพาะตัวและขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้านาย เป็นสำคัญ ลองนึกง่ายๆ คุณจะยอมรับความจริงและทำงานต่อไปแบบไม่รู้สึกอะไรเลยได้หรือไม่ หากทราบว่าเจ้านายประเมินศักยภาพในการทำงานของเพื่อนรัก (ซึ่งคุณคิดมาตลอดว่าเก่งน้อยกว่าคุณนิดเดียว) สูงกว่าคุณมาก ที่สำคัญ ขอบอกเลยว่าหลายบริษัทได้ตั้งกฎห้ามเผยแพร่ตัวเลขเงินเดือน ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นเพื่อนสนิทของคุณหรือไม่ก็ตาม บางแห่งหากมีการละเมิดกฎข้อนี้ อาจถูกลงโทษทางวินัยได้
  • ถ้าเราไม่ใช้วันพักร้อน ทางบริษัทจะต้องจ่ายคืนเป็นเงินแก่พนักงานหรือไม่ โดยทั่วไปแล้วบริษัทจะต้องจ่ายคืนเป็นเงินแก่พนักงานคนนั้นๆ แต่กรณีที่บางบริษัทไม่จ่ายเป็นเงิน ก็อาจสมทบวันพักร้อนที่ไม่ได้ใช้รวมเข้ากับวันพักร้อนของปีถัดไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระเบียบของแต่ละบริษัท
  • ได้งานตำแหน่งพนักงานขาย และบริษัทต้องการให้เราจ่ายเงินสดจำนวนหนึ่งเป็นเงินค้ำประกัน กลัวถูกหลอกค่ะ โดยทั่วไปบริษัทมักจะให้เราหาคนมาค้ำประกัน ซึ่งน่าจะเพียงพอแล้ว แต่หากคุณประเมินในเบื้องต้นด้วยตัวเองแล้วรู้สึกว่าบริษัทมีชื่อเสียงและ คุณเองก็อยากร่วมงานด้วยจริงๆ ก็ควรเจรจาต่อรองกับนายจ้าง เช่น ให้บริษัทหักจากเงินเดือนของเรา ซึ่งจะเป็นเดือนละเท่าไรก็ว่าไป
  • หลายบริษัทเกิดเรียกตัวให้ไปทำงานในเวลาไล่เลี่ยกันตัดสินใจไม่ถูกเลย ควรจัดอันดับก่อนเลยว่าคุณอยากจะทำงานกับบริษัทไหนมากที่สุด จากนั้นค่อยมองดูปัจจัยอื่นๆ ตามมา ได้แก่ การเดินทาง, ฐานเงินเดือน โอกาสก้าวหน้าในการทำงาน ฯลฯ สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะตอบปฏิเสธบริษัทไหน ควรปฏิเสธแบบบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น พร้อมขอบคุณที่เขาพิจารณาเลือกคุณด้วยเป็นดีที่สุด
  • สัญญาการจ้างงานแบบปีต่อปีใกล้จะหมดอายุ หากบริษัทไม่ต่อสัญญา เราจะได้เงินค่าชดเชยหรือไม่ กรณีลูกจ้างตามสัญญาจ้าง เมื่อไม่มีการต่อสัญญา นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชย เพราะตามสัญญาก็มีการระบุชัดเจนอยู่แล้วว่า บริษัทตกลงจะจ้างคุณทำงานตั้งแต่เมื่อไร สิ้นสุดเมื่อไร ซึ่งถือเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเอง
  • สนใจเรียนปริญญาโท เท่าที่ฟังๆ สาขาที่รุ่งก็มีด้านไอทีกับการตลาด ไม่ทราบว่าจะเลือกเรียนด้านไหนดี การเลือกสาขาสำคัญก็จริง แต่คุณควรรู้จักตนเองเป็นอันดับแรก เช่น หากประเมินตัวเองว่าชอบทำงานเป็นระบบมากกว่าการใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือชอบทำงานกับตัวเองมากกว่าพบปะผู้คนมากหน้าหลายตา ก็ควรเลือกเรียนไอที เป็นต้น ต่อจากนั้นค่อยเลือกสาขา โดยมองเป้าหมายว่า ต้องการเรียนเพื่อรู้หรือเพื่อนำไปต่อยอดทำมาหากินในอนาคต ซึ่งถ้าเป็นข้อหลัง คุณก็ต้องเลือกสาขาที่นำมาปรับใช้กับงานที่ทำอยู่จึงจะดีที่สุด
  • อายุ งานยังน้อย แต่ได้รับการโปรโมท พอเพื่อนร่วมงานรู้ก็เริ่มตีตัวออกห่างและพูดจาเสียดสี ทนรับความกดดันไม่ไหวจึงลาออก แต่มาเจอเหตุการณ์เดียวกันในที่ทำงานใหม่อีก การเป็นน้องใหม่หรืออายุงานน้อยแต่ได้เลื่อนขั้น เป็นไปได้ที่จะสร้างความอิจฉา เพราะคงมีบางคนที่เฝ้ารอตำแหน่งที่คุณได้รับอยู่เช่นกัน แต่ใช่ว่าคุณจะต้องลดคุณภาพงานของตัวเองหรือย่ำอยู่กับที่เพื่อความสบายใจ ควรพัฒนาตัวเองต่อไปดีกว่ามัวแก้ไขความคิดของคนอื่น
อ่านแล้วอย่าลืมเก็บไปคิดนะคะ ว่าจริงไหม

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ หมายถึง ส่วนการทํางานที่จําเป็นสําหรับคอมพิวเตอร์ 4 ส่วนคือส่วนที่ทําหน้าที่รับข้อมูล และคําสั่ง หรือเรียกว่าหน่วยรับข้อมูลเข้า ส่วนที่ทําหน้าที่นําข้อมูลที่นําเข้า หรือคําสั่งไปประมวลผล หรือเรียกกว่าหน่วยประมวลผลกลาง ส่วนที่ทําหน้าที่นําผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลกลางไปแสดง หรือเรียกกว่าหน่วยแสดงผล และส่วนที่ทําหน้าที่จัดเก็บข้อมูลไว้เพื่อที่จะนํามาใช้ในภายภาคหน้าหรือเรียกว่าว่าหน่วยเก็บข้อมูลสํารองจําลองลักษณะการทํางานที่จําเป็นสําหรับคอมพิวเตอร์ (องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์)
     1 หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)
หน่วยรับข้อมูลเข้า เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่รับข้อมูล หรือคําสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์นําข้อมูล หรือคําสั่งดังกล่าวไปประมวลผลกลางต่อไป ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่จัดอยู่ในหน่วยรับข้อมูลเข้าได้แก่
  • แป้นพิมพ์ (Keyboard)
  • เมาส์ (Mouse)
  • ไมโครโฟน (Microphone)
  • แสกนเนอร์ (Scanner)
  • กล้องดิจิตอล
  • ตัวอย่างของหน่วยรับข้อมูลเข้าแสดงในรูป
     2 หน่วยประมวลผล (Central Process Unit)
หน่วยประมวลผลกลาง เป็นหน่วยที่สําคัญที่สุด เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ประมวลผลของมูล หรือคําสั่งต่าง ๆ และมีหน้าที่ควบคุมระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกหน่วยทํางานสอดคล้องกัน ซึ่งหน่วยประมวลผลการจะประกอบด้วยหน่วยย่อย ๆ ดังต่อไปนี้
  • หน่วยความจํา (Memory Unit)
  • รีจิสเตอร์ (Register) คือ หน่วยความจําที่อยู่ภายใน CPU ทําหน้าที่เก็บข้อมูลที่ส่งมาจากหน่วยความจําหลัก และจะนําข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผล
  • รอม (Read Only Memory: ROM) คือ หน่วยความจําหลักชนิดถาวรของคอมพิวเตอร์ทําหน้าที่เก็บคําสั่งต่าง ๆ ไม่สามารถแก้ไข้ข้อมูลในรอมได้ เปรียบได้กับหนังสือที่จะเก็บความรู้ต่าง ๆ เอาไว้
  • แรม (Random Access Memory: RAM) คือ หน่วยความจําหลักชนิดหนึ่งของคอมพิวเตอร์ทําหน้าที่เก็บข้อมูล หรือคําสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการประมวลผล สามารถแก้ไขข้อมูลในแรมได้ และข้อมูลจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง
  • คอมพิวเตอร์ เปรียบได้กับกระดาษทดหน่วยคํานวณ และตรรกะ (Arithmetic and Login Unit: ALU) เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่คํานวณทางด้านคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร หรือคํานวณทางตรรกะศาสตร์ เช่น เปรียบเทียบข้อเท็จ เป็นต้น
  • หน่วยควบคุม (Control Unit) เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานทุกๆ หน่วยในCPU และอุปกรณ์ต่อพ่วงให้ทํางานได้อย่างสัมพันธ์กัน
     3 หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผลเป็นหน่วยที่ทําหน้าที่นําผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลกลางไปแสดง
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่จัดเป็นชนิดหน่วยแสดงผลได้แก่
  • จอภาพ
  • เครื่องพิมพ์
  • ลําโพง
  • ตัวอย่างของหน่วยแสดงผลดังแสดงในรูป
     4 หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง (Secondary Storage)
หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง คือ สื่อในการเก็บบันทึกข้อมูล เช่น Hard disk, CD-ROM,Tape, Floppy disk เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ (Software)
 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา

ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ

  • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
  • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน

บุคลากร (Peopleware)
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ

ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป

บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้

  • การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
  • การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
  • การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
  • การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น


ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ

ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน

สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังนี้

     มีความสัมพันธ์กัน (relevant) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
     มีความทันสมัย (timely) ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
     มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate) เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
     มีความกระชับรัดกุม (concise) ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
     มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete) ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน

กระบวนการทำงาน (Procedure) กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
  1. จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
  2. สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
  3. เลือกรายการ
  4. ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
  5. รับเงิน
  6. รับใบบันทึกรายการ และบัตร